วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เรื่องของบันไดสี

เรื่องของบันไดสี

อีกวิธีการหนึ่งในอันที่จะสร้างอารมณ์ซึ้งๆ ให้แก่ภาพถ่ายได้อย่างยอดเยี่ยม คือการควบคุมโทนสีของ ภาพให้เป็นภาพ โทนสีมืดและภาพโทนสีสว่าง แตกต่างกันอย่างชัดเจน ภาพประเภทดังกล่าวได้แก่ ภาพ “บันไดสีสูงหรือไฮคีย์” (High Key) และภาพบันไดสีต่ำหรือโลว์คีย์” (Low Key) 
ภาพบันไดสีสูงหรือไฮคีย์จะมีแสงสว่างระดับสูงและระดับกลางเป็นตัวยืน อารมณ์ที่ภาพประเภทนี้นำมา ให้ คือความร่าเริงแจ่มใส ให้ความรู้สึกนุ่มนวล อ่อนหวานและความปลอดโปร่ง โล่งสบาย เพราะพื้นที่ส่วน ใหญ่หรือแทบทั้งหมดของภาพประเภทนี้ประกอบไปด้วยสีขาวหรือสีอ่อนๆ ในกลุ่ม “สีอุ่น” ดูแล้วสบายตา สบายใจดี
ในยุคที่ภาพสียังไม่เกิด ยุคที่มีแต่ภาพขาว-ดำหรือภาพเอกรงค์ล้วนๆ เรามักจะพบเห็นภาพไฮคีย์ได้บ่อยๆ ลักษณะ ของภาพจะมีพื้นที่เป็นสีขาว แล้วมีจุดสนใจของภาพเป็นโทนสีดำหรือสีที่เข้มกว่า จุดสนใจนี้จะมีขนาดเล็กประมาณ 5-10 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ภาพทั้งหมดเท่านั้น แต่ในบริเวณพื้นที่ส่วนใหญ่อื่นๆ ของภาพ จะปล่อยให้เป็นพื้นที่สีขาวเปล่าๆ เหมือน กับกระดาษขาวแผ่นหนึ่งไม่ได้ หากปล่อยให้เป็นแช่นนั้นก็จะกลายเป็นภาพที่ไร้คุ้นค่า กลายเป็นภาพ “ถ่ายหลวม” มากๆภาพ หนึ่งเท่านั้นเอง ดังนั้นบนพื้นที่สีขาวนั้นจะต้องมีรายละเอียดอื่นๆ ที่สามารถสร้างเรื่องราวให้ภาพม ีความสมบูรณ์และสวยงาม อยู่ด้วย
ภาพไฮคีย์ของภาพสีก็เช่นเดียวกัน เราสามารถนำสีอ่อนๆ ที่จัดให้อยู่ในกลุ่ม “สีอุ่น” เช่น สีเหลืองอ่อน สีน้ำตาลอ่อน สีชมพูอ่อน รวมทั้งสีขาวมาวางไว้เป็นฉากหลังของภาพไฮคีย์ และไม่ว่าจะป็นภาพสีหรือภาพขาว-ดำ เมื่อเป็นภาพไฮคีย์แล้ว มักจะมีจุดสนใจของภาพเป็นสีเข้มกว่ามาตัดกับฉากหลังสีอ่อนเสมอ แต่ก็สามารถนำจุดสนใจที่มีโทนสีเดียวกับฉากหลังมา สร้างเป็นภาพไฮคีย์ได้เช่นกัน


ข้อสำคัญอยู่ที่ว่า เมื่อใช้จุดสนใจที่มีสีเข้มมาวางบนภาพไฮคีย์ จุดสนใจนั้นควรจะมีขนาดไม่เกิน 5-10 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ภาพทั้งหมด แต่ถ้าจุดสนใจมีโทนสีใกล้เคียงกับฉากหลัง ขนาดของจุดสนใจจะเล็กหรือใหญ่แค่ไหนก็ได้ให้ พิจารณาดูตามความเหมาะสมเพื่อให้ภาพมีองค์ประกอบภาพที่สวยงาม ซึ่งส่วนมากจะเป็นภาพบุคคล (Portrait)
กว่าจะสร้างภาพไฮคีย์ดีๆ ขึ้นมาสักภาพหนึ่ง การเลือกหาจุดสนใจมาสร้างเรื่องราวเป็นเรื่องที่ต้องพิถีพิถันอย่างที่สุด ที่สำคัญก็คือไม่ควรสร้างเรื่องโศกเศร้าสะเทือนอารมณ์มาไว้ในภาพไฮคีย์เป็นอันขาด เพราะภาพที่มีโทนสีอ่อนเป็นภาพที่ให้ความรู้สึกสดชื่นแจ่มใสสบายใจ
อย่างไรก็ตาม นอกจากจุดสนใจที่มีสีเข้มเป็นจุดเล็กๆ ในภาพไฮคีย์แล้ว ตรงพื้นที่สีอ่อนอื่นๆ อาจจะมีพื้นที่สีเข้มเล็กๆ น้อยๆ เข้ามาประกอบร่วมอยู่ในภาพด้วย ซึ่งจะช่วยให้การตัดกันของสีดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างเรื่องราวหรือความโดดเด่น ให้แก่ภาพได้ ดีกว่าที่จะปล่อยให้มีแต่โทนสีอ่อนเกลี้ยงๆ หมดทั้งภาพ


นอกจากนี้ ภาพไฮคีย์ที่ดีนั้นไม่จำเป็นจะต้องมีสีอ่อนหรือสีขาวอย่างสม่ำเสมอเท่ากันทั่วทั้งภาพ อาจจะมีการเฉลี่ยสี และแสงให้ปะปนกันไปบ้างด้วยการให้แสงตกลงบนพื้นภาพต่างระดับกันเล็กน้อย เช่นจัดให้มีสีอ่อนมากอ่อนน้อยลดหลั่นกัน กระจายอยู่ในพื้นที่ของภาพอย่างกลมกลืน
การสร้างบรรยากาศแบบเพ้อฝันแก่ภาพไฮคีย์ด้วยการใช้แบ็คไลท์ที่เจิดจ้าแล้วเปิดหน้ากล้องกว้างๆ พยายามเน้นชัด เฉพาะจุดสนใจ ทำให้ส่วนที่ถูกแสงแบ็คไลท์ออกอาการขาวโพลนเหมือนกับการให้แสงโอเวอร์ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งสำหรับสร้าง ภาพไฮคีย์
วิธีถ่ายภาพไฮคีย์ที่ง่ายที่สุด คือการถ่ายภาพท่ามกลางสายหมอกหรือควันไฟ เพียงแต่ต้องแยกให้ออกว่าอย่างไรคือภาพไฮคีย์และอย่างไรคือภาพทิวทัศน์ การใช้ฟิลเตอร์พิเศษช่วยสร้างความนุ่มนวล คล้ายสายหมอกสร้างภาพไฮคีย์ได้เช่นกัน
การถ่ายภาพประเภทไฮคีย์ยังมีข้อควรระวังเป็นพิเศษอีกประการหนึ่ง คือการชดเชยแสง เนื่องจากเครื่องวัดแสงทั่วๆ ไปจะวัดแสงเฉลี่ยระดับกลางๆ เท่ากับสีเทากลาง 18 เปอร์เซ็นต์ แต่ภาพประเภทไฮคีย์จะมีสีขาว หรือสีอ่อนเป็นพื้นที่ส่วน ใหญ่ของภาพ จึงควรชดเชยแสงไปทางบวกเพื่อให้กล้องถ่ายภาพรับแสงมากกว่าที่เครื่องวัดแสงวัดได้ผลที่ออกมาจึงจะมีสี ขาว หรือสีอ่อนเหมือนจริง กล้องถ่ายภาพระบบดิจิตอลสามารถช่วยให้ผู้ถ่ายภาพปฏิบัติการได้ถูกต้องเป็นอย่างดีอยู่แล้ว
สำหรับภาพ “โลว์คีย์” เมื่อคนใดคนหนึ่งพูดถึงภาพบันไดสีต่ำหรือภาพโลว์คีย์ เรามักจะนึกถึงภาพมืดๆ ดำๆ ของภาพ ขาว-ดำ ส่วนในภาพสีนั้นหลายคนยังนึกภาพไม่ออกว่าจะออกมาในลักษณะใด ความจริงแล้วภาพ “โลว์คีย์” ก็คือภาพที่มี โทนสีเข้ม หรือสีดำเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของภาพ ให้ความรู้สึกมืดมัว เศร้าหมอง และบางครั้งก็ดูลึกลับน่าสะพรึงกลัว


ภาพโลว์คีย์ส่วนใหญ่มักจะใช้วิธีถ่ายภาพย้อนแสงเพื่อเน้นแสงเงาและริมไลท์ (Rim light) แสดงให้เห็นรูปร่างแบบ ลายเส้นของสิ่งที่เราถ่ายตัดกับความดำมืดในฉากหลัง อาจกล่าวได้ว่าการถ่ายภาพย้อนแสงให้มีแสงเงาตัดกันรุนแรง เป็นวิธี การสร้างภาพประเภทโลว์คีย์ได้ดีวิธีหนึ่ง
เมื่อกวาดสายตามองไปรอบๆ ตัว เราจะเห็นสิ่งที่จะนำมาถ่ายทำเป็นภาพโลว์คีย์ได้มากมายจนดูเหมือนว่าการถ่ายภาพ โลว์คีย์นั้นง่ายกว่าภาพไฮคีย์ เราจึงมักจะได้เห็นภาพประเภทโลว์คีย์นำออกแสดงสู่สายตาผู้ชมมากกว่าภาพประเภทไฮคีย์ กล่าวโดยทั่วไป ภาพโลว์คีย์ก็คือภาพที่มีลักษณะตรงกันข้ามกับภาพไฮคีย์ที่พูดถึงมาแล้วนั่นเอง ภาพไฮคีย์เป็นภาพที่มีพื้น ที่สว่างมากกว่า ส่วนภาพโลว์คีย์ก็จะมีพื้นที่มืดมากกว่า ภาพไฮคีย์ต้องถ่ายด้วยการชดเชยแสงไปทางบวก ส่วนภาพโลว์คีย์ ให้ชดเชยแสงไปทางลบ และเช่นเดียวกันภาพโลว์คีย์ที่มีจุดสนใจเป็นสีขาวหรือสีอ่อน จุดสนใจนั้นจะเป็นเพียงจุดเล็กๆ แต่ ถ้าจุดสนใจมีสีเข้มใกล้เคียงกับฉากหลัง จะไม่มีการจำกัดขนาดของจุดสนใจ ซึ่งส่วนมากเป็นภาพบุคคลหรือ Portrait
โดยทั่วๆ ไป นักถ่ายภาพ ส่วนมากนิยมถ่ายภาพที่มีสีสันสดสวยเฉลี่ยทั่วทั้งภาพ มากกว่าที่จะถ่ายภาพประเภทไฮคีย์ หรือโลว์คีย์ และมักจะใช้ “สีเย็น” อันได้แก่ สีฟ้า สีน้ำเงิน สีม่วง และสีดำ วางเป็นฉากหลัง และใช้ “สีอุ่น” อันได้แก่ สีแดง สีแสด สีเหลือง และสีขาว เป็นสีของจุดสนใจ โดยเหตุนี้การถ่ายภาพไฮคีย์จึงมีความยุ่งยากมากกว่าภาพโลว์คีย์ เพราะภาพ ไฮคีย์มี “สีอุ่น” เป็นฉากหลัง โดยมี “สีเย็น” เป็นจุดสนใจ ซึ่งตรงกันข้ามกับความนิยมของการถ่ายภาพสีทั่วๆ ไป โดยเฉพาะ อย่างยิ่งฉากหลังที่มีท้องฟ้าสีขาว กำแพงสีขาวและวัตถุสีขาวอื่นๆ มักถูกปฏิเสธจากบรรดานักถ่ายภาพส่วนใหญ่ ภาพไฮคีย์ จึงไม่ได้พบเห็นกันบ่อยนัก


อย่างไรก็ตาม ภาพไฮคีย์และภาพโลว์คีย์ เป็นภาพที่ต้องใช้เทคนิคพิเศษและใช้ความสามารถของนักถ่ายภาพมากกว่า ภาพธรรมดาภาพทั้งสองประเภทนี้จึงมักจะได้รับคะแนนจากคณะกรรมการตัดสินภาพมากกว่าภาพธรรมดาเสมอ
สิ่งสำคัญที่ควรรู้ไว้ก็คือ ภาพไฮคีย์ไม่ใช่ภาพที่ถ่ายโอเวอร์ และภาพโลว์คีย์ก็ไม่ใช่ภาพที่ถ่ายอันเดอร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น